• การรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลายกรณีไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ป่วย อาจทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานจากการใช้เครื่องกู้ชีพต่างๆ เช่น การเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ การปั๊มหัวใจ หรือการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยยืดการตายออกตาย แต่ไม่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น
• ผู้ป่วยไม่ถูกทอดทิ้ง ยังคงได้รับการดูแลจากแพทย์ พยาบาล เพื่อให้ได้รับความสบาย จนเสียชีวิตลงอย่างสงบตามธรรมชาติ
• ผู้ป่วยที่โอกาสสื่อสารกับคนอื่นได้ในขณะมีสติสัมปชัญญะ เช่น การล่ำลากับคนในครอบครัว ญาติมิตรได้ หรือเลือกที่จะเสียชีวิตที่บ้านตามที่ผู้ป่วยต้องการ
• ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก จนทำให้ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยบางรายถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัว ต้องขายทรัพย์สิน เงินทองมาเป็นค่ารักษา โดยที่ผู้ป่วยมีความหวังน้อยหรือแทบจะไม่มีโอกาสฟื้นคืนสติสัมปชัญญะ หรือพ้นจากวาระสุดท้ายของชีวิตได้เลย
• โรงพยาบาลสามารถให้การดูแลผู้ป่วยอื่นๆ ที่ยังมีความหวัง หรือมีโอกาสที่จะรักษาได้อย่างเพียงพอ ไม่เป็นการใช้ทรัพยากรในการบริการสาธารณสุขที่สูญเปล่า เพราะมีจำนวนเตียงที่พอในการให้บริการผู้ป่วยทั่วไป