หนังสือแสดงเจตนา

หนังสือแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้าย ของชีวิต

เมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ  กฎหมายฉบับนี้มิใช่เป็นเพียงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการแพทย์และ สาธารณสุขเท่านั้น  แต่กฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนโดยทั่วไปด้วย เพราะได้นิยามความหมายของคำว่า “สุขภาพ”   ในภาพกว้าง และเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทยก็คือ การทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในต่างประเทศเรียกว่า การทำ Living Will หรือ Advance Directive  อนึ่งแม้ว่าใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้แล้ว แต่กฎหมายดังกล่าวได้เขียนไว้ว่า การดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง  ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ยกร่างกฎกระทรวงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ในระหว่างขั้นตอนการนำเสนอ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป 
 

ข้อดีในการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์รับการรักษาของ ผู้ป่วยในวาระสุดท้าย

1. ผู้ป่วยสามารถแสดงประความสงค์หรือความต้องการไว้ล่วงหน้าเกี่ยวกับวิธีการ รักษาที่ตนปรารถนาหรือไม่ปรารถนา ในเวลาที่ตนไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้  รวมทั้งความต้องการที่จะเสียชีวิตที่บ้าน หรือต้องการอยู่ใกล้ชิดกับคนในครอบครัว ญาติมิตร คนใกล้ชิด